อพ.สธ. ดำเนินงานอยู่ในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หก โดยมีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริมากกว่า 200 หน่วยงาน และมีสมาชิกงานสวนพฤกษศาตร์โรงเรียนประมาณ 4,000 แห่ง รวมถึงสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิกทั้งหมด ประมาณ 7,000 แห่ง ทั่วประเทศ ทำให้การดำเนินงานของ อพ.สธ. นั้น ครอบคลุมทั่วประเทศ การดำเนินงานอพ.สธ. จึงควรมีหน่วยงานเข้ามาช่วยในการประสานงานกับจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ.  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ อพ.สธ. ให้ประสบความสำเร็จ จึงมีการประสานงานให้เกิดศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ในมหาวิทยาลัยตามภูมิภาคต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตั้งแต่แผนแม่บทระยะ 5 ปีที่สี่ (1 ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2554) และในแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม2559-30 กันยายน 2564 ) โดยพระราชานุญาตให้มีศูนย์แม่ข่ายประสานงานอพ.สธ./ศูนย์ประสานงานอพ.สธ.เพิ่มอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น  และในปี พ.ศ. 2562 นี้ มีจำนวน 18 แห่ง
 
ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มีการดำเนินงานภายใต้ การกำกับดูแลของคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้โดยการแต่งตั้งโดยพระราชานุญาต และการจัดตั้งเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงานอพ.สธ. ของมหาวิทยาลัยนี้เป็นการดำเนินการ ภายใต้กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ตามแผนแม่บท อพ.สธ. โดยมีโครงสร้างของศูนย์ฯ ในการดำเนินงานอย่างชัดเจน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ./ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.

  1. เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัย และภายใต้แผนแม่บท อพ.สธ. ของมหาวิทยาลัย
  2. เพื่อประสานงาน และขับเคลื่อนงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ระหว่างมหาวิทยาลัยลูกข่ายและหน่วยงานภายนอก (ภาครัฐ จังหวัด กรมต่าง ๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ฯลฯ และภาคเอกชน)
  3. เพื่อเป็นหน่วยรวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากร ได้แก่ ฐานทรัพยากรกายภาพ ฐานทรัพยากรชีวภาพ และฐานทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ในงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. (ตามแนวทางการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร)
  4. เพื่อดำเนินงานการจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อพ.สธ. ดำเนินการตามกรอบนโยบายในการช่วยสนับสนุน อพ.สธ. ขยายผลในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรได้ต่อไป
  5. เพื่อดำเนินงานการจัดฝึกอบรมให้กับสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ. ดำเนินการตามกรอบนโยบายในการช่วยสนับสนุน อพ.สธ. ขยายผลในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรได้ต่อไป
  6. เพื่อวางแผนและปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.สธ. สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยและสามารถใช้งานสนองพระราชดำรินี้ไปสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย เช่นการเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น
 

บุคลากร/การบริหารจัดการของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.

  1. โครงสร้างการบริหารชัดเจน มีผู้บริหารรับผิดชอบ มีตำแหน่งที่ระบุหน้าที่งานชัดเจน และโครงสร้างของศูนย์แม่ข่ายประสานงานฯ/ศูนย์ประสานงานฯ ขึ้นตรงกับท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัย การดำเนินงานต่าง ๆ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการดำเนินงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัย
  2. มีตำแหน่งบุคลากรในการทำงานและหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในแต่ละโครงสร้างงานที่ตั้งขึ้น ตัวอย่างเช่นสำนักงาน/หน่วยฝึกอบรม ควรมีตำแหน่งวิทยากร อย่างน้อย 3-5 ตำแหน่ง และสำนักงาน/หน่วยประสานงาน/ติดตามงาน ควรมีเจ้าหน้าที่ประจำ อย่างน้อย 2 ตำแหน่งฯลฯ
 

บทบาทหน้าที่ของของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. และศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.         

  1. เป็นหน่วยงานสนับสนุนและประสานงานด้านการสนองพระราชดำริในโครงการ อพ.สธ. ของจังหวัด
  2. เป็นหน่วยงานฝึกอบรมปฏิบัติการหรือการประชุมกลุ่มสมาชิกเกี่ยวกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสำหรับโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. แนวทางในการฝึกอบรมปฏิบัติการหรือการประชุมกลุ่มสมาชิก ได้แก่ ปูพื้นฐาน ต่อยอด เติมเต็ม พัฒนา และวัดผลประเมินผล รวมถึงการสร้างความเข้าใจและติดตามการดำเนินงานของสมาชิกเป็นระยะ
  4. เนื้อหาในการอบรมของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ควรมีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ในการฝึกอบรม มีเนื้อหาหลักที่ถูกต้องตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ และมีเนื้อหาเสริมของแต่ละท้องถิ่นตามบริบทของศูนย์ประสานงาน โดยมีการทำแผนร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงานกับ อพ.สธ.
  5. ศูนย์ประสานงานควรจัดการอบรมหรือประชุมกลุ่มไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี โดยมีวิทยากรที่ได้รับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมและวัดผลจาก อพ.สธ. ว่ามีคุณสมบัติสามารถเป็นวิทยากรได้ รวมถึงผู้ช่วยวิทยากรด้วยเช่นกันโดยมีการทำแผนร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงานกับ อพ.สธ.
 

กรอบการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ-มหาวิทยาลัย

 
โครงสร้างศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

แนวทางการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.
  • ทำหน้าที่เสมือน อพ.สธ.
    • ให้คำปรึกษา แนะนำ ประสานงานและเชิญชวนให้ท้องถิ่นและโรงเรียนให้ร่วมสนองพระราชดำริ
    • สนับสนุนชุมชนและโรงเรียนให้สามารถดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำหน้าที่สื่อกลางระหว่างชุมชน/ท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยโดยนำโจทย์จากชุมชนไปดำเนินการวิจัย พัฒนาและบูรณาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
  • บทบาทของศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.มีบทบาทในกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
    • ประสานงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่น/โรงเรียน สมัครและดำเนินงานงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นและสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
  • ประสานงานและสร้างความร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย(ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ของมหาวิทยาลัย)
  • ช่วยตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ การให้ความรู้ในการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล ให้คำแนะนำชุมชน/ท้องถิ่น ตลอดจนสนับสนุนให้ได้รับป้ายฯ และเกียรติบัตรต่อไป
 

ขอบเขตการดำเนินงานของศูนย์แม่ข่าย อพ.สธ.-จฬ.

  1. จังหวัดอุทัยธานี
  2. จังหวัดชัยนาท
  3. จังหวัดลพบุรี
  4. จังหวัดสระบุรี
  5. จังหวัดอ่างทอง
  6. จังหวัดสิงห์บุรี
  7. จังหวัดสุพรรณบุรี
  8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  9. จังหวัดกาญจนบุรี
  10. จังหวัดนครปฐม
  11. จังหวัดนนทบุรี
  12. จังหวัดปทุมธานี
  13. จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  14. จังหวัดนครนายก
  15. จังหวัดปราจีนบุรี
  16. จังหวัดสระแก้ว
  17. จังหวัดฉะเชิงเทรา
  18. จังหวัดชลบุรี
  19. จังหวัดระยอง
  20. จังหวัดจันทบุรี
  21. จังหวัดตราด
  22. จังหวัดสมุทรปราการ
  23. จังหวัดสมุทรสาคร
  24. จังหวัดสมุทรสงคราม
  25. จังหวัดราชบุรี
  26. จังหวัดเพชรบุรี
  27. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 

ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ในขอบเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ

กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสระบุรี
         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
จังหวัดนครปฐม
         มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
จังหวัดปทุมธานี
         มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
จังหวัดชลบุรี
         มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัดเพชรบุรี
         มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

ข้อมูลสำหรับทำแผนแม่บทและแผนการดำเนินงาน ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.-จฬ.

 
ศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.-จฬ.)
ชั้น 2 อาคารจามจุรี 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กทม 10330 โทร 02-218-0090

webcounterwebsite